ยุทธศาสตร์การจัดความรู้





ศษ 433  ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้
ED 433  Strategies  for  Knowledge  Management






คำอธิบายรายวิชา

                              ศึกษานัยสำคัญของสังคมที่มีความรู้เป็นพื้นฐาน (Knowledge-Based Society) การเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติและการดำรงชีวิต การตัดสินใจ โดยอาศัยฐานความรู้และภูมิปัญญา การจัดระบบความรู้ การบริหารจัดการความรู้ และการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รวมทั้งการกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ 


จุดมุ่งหมายรายวิชา
                
                 เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการบริหารการจัดการความรู้  การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้  การกำหนดยุทธศาสตร์การจัดการความรู้  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเชื่อมโยงความรู้กับการปฏิบัติและการดำรงชีวิต




                    ความรู้  คือ  สิ่งที่ใช้อธิบายสิ่งต่าง  ที่พบเห็นได้อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยข้อมูล ทักษะและประสบการณ์ที่มีอยู่เป็นส่วนสนับสนุนการตัดสินใจ 
                    บริหารการจัดการความรู้   คือ  ระบบบริหารจัดการความรู้ให้เป็นระเบียบ ครบถ้วน ง่ายต่อการเรียกใช้ จัดเก็บตามความต้องการ โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในการจัดการ ความรู้ที่ได้รับการจัดการอย่างเป็นระบบนี้จะคงอยู่เป็นความรู้ขององค์กรตลอดไป และจะเกิดประโยชน์ต่อการปฏิบัติงาน
 หากจำแนกระดับของความรู้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับ คือ

                 
1.ความรู้เชิงทฤษฏี (Know-What) เป็นความรู้เชิงข้อเท็จจริง รู้อะไร เป็นอะไร จะพบในผู้ที่สำเร็จการศึกษามาใหม่ๆ ที่มีความรู้โดยเฉพาะความรู้ที่จำมาได้จากความรู้ชัดแจ้งซึ่งได้จากการได้เรียนมาก แต่เวลาทำงาน ก็จะไม่มั่นใจ มักจะปรึกษารุ่นพี่ก่อน 
                 
2.ความรู้เชิงทฤษฏีและเชิงบริบท (Know-How) เป็นความรู้เชื่อมโยงกับโลกของความเป็นจริง ภายใต้สภาพความเป็นจริงที่ซับซ้อนสามารถนำเอาความรู้ชัดแจ้งที่ได้มาประยุกต์ใช้ตามบริบทของตนเองได้ มักพบในคนที่ทำงานไปหลายๆปี จนเกิดความรู้ฝังลึกที่เป็นทักษะหรือประสบการณ์มากขึ้น 
                 
3.ความรู้ในระดับที่อธิบายเหตุผล (Know-Why) เป็นความรู้เชิงเหตุผลระหว่างเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆผลของประสบการณ์แก้ปัญหาที่ซับซ้อน และนำประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เป็นผู้ทำงานมาระยะหนึ่งแล้วเกิดความรู้ฝังลึก สามารถอดความรู้ฝังลึกของตนเองมาแลกเปลี่ยนกับผู้อื่นหรือถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้พร้อมทั้งรับเอาความรู้จากผู้อื่นไปปรับใช้ในบริบทของตนเองได้ 
                 
4.ความรู้ในระดับคุณค่า ความเชื่อ (Care-Why) เป็นความรู้ในลักษณะของความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ที่ขับดันมาจากภายในตนเองจะเป็นผู้ที่สามารถสกัด ประมวล วิเคราะห์ความรู้ที่ตนเองมีอยู่ กับความรู้ที่ตนเองได้รับมาสร้างเป็นองค์ความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ เช่น สร้างตัวแบบหรือทฤษฏีใหม่หรือนวัตกรรม ขึ้นมาใช้ในการทำ
 ขั้นตอนการจัดการความรู้
  1. การสำรวจความรู้ภายในองค์กรและนอกองค์กร   
  2. การรวบรวมและการจัดเก็บ   
  3. การพัฒนาความรู้   
  4. การถ่ายทอดความรู้ หรือการแบ่งปันความรู้       

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) 
                    กระบวนการในการจัดการความรู้เป็นส่วนสําคัญที่ทําให้เกิดRight Knowledge, Right People, Right Time ซึ่งมีขั้นตอนในกระบวนการจัดการความรู้ ดังนี้ 

1. การบ่งชี้ความรู้ที่จําเป็นต้องมี (KnowledgeIdentification) 
                  - ศึกษาวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายขององค์กร เพื่อสร้างความเข้าใจให้ไปสู่เป้าหมายเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้คนในองค์กรดําเนินการบริหารจัดการความรู้ไปในทิศทางเดียวกัน 
                  - วิเคราะห์รูปแบบและแหล่งความรู้ที่มีอยู่เพื่อใช้ความรู้นั้นในการดําเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย พันธกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร 
                  - ประเมินระดับความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันว่าภายในองค์กรมีความรู้อยู่ในรูปแบบใด 
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ (KnowledgeCreation and Acquisition) 
                  - สร้างและแสวงหาความรู้จากแหล่งต่างๆ ที่กระจัดกระจายทั้งภายใน/ภายนอก เพื่อจัดทําเนื้อหาให้ตรงกับความต้องการ 
3. การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (KnowledgeOrganization) 
                  - จัดแบ่งชนิดและประเภทความรู้เพื่อจัดทําระบบให้ง่ายและสะดวกต่อการค้นหาและใช้งาน 
4. การประมวลและกลั่นกลองความรู้ (KnowledgeCodification and Refinement) 
                  - จัดรูปแบบและ“ภาษา” เอกสารที่มาจากแหล่งต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์กร 
                  - เรียบเรียงปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยและตรงกับความต้องการ 
5. การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) 
                  - ความสามารถในการเข้าถึงความรู้ได้ทุกเวลาและทุกสถานที่(Everytime  Everywhere) อย่างสะดวก รวดเร็ว ในเวลาที่ต้องการ 
6. การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (KnowledgeSharing) 
                  - การแลกเปลี่ยนความรู้ถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษร(Tacit Knowledge สู่Explicit Knowledge) 
                  - การถ่ายทอดความรู้จากคนสู่คน(Tacit Knowledge สู่ Tacit Knowledge) เช่น การสับเปลี่ยนงาน (Job Rotation) เพื่อเรียนรู้งานอื่นๆ เพิ่มเติมนอกเหนือจากงานที่เคยทํา 
7. การเรียนรู้ (Learning) 
                  - นําความรู้ไปใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาและปรับปรุงองค์กร  

                    ดังนั้นแต่ละองค์กรสามารถเลือกขั้นตอนกระบวนการให้เหมาะสมกับองค์กรของตน เนื่องจากความพร้อมของแต่ละองค์กรไม่เหมือนกัน โดยวิเคราะห์ว่าองค์กรของตนมีขั้นตอนใดที่ยังขาดอยู่มีขั้นตอนใดที่เป็นส่วนสําคัญก็นํามาเป็น Model หลักของตน เพื่อทําให้กระบวนการจัดการความรู้ขององค์กรเป็นระบบและถูกส่งแทรกซึมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการทํางานประจํา 


หัวใจของการจัดการความรู้ 

                  มีผู้รู้ได้กล่าวถึง  KM  หลายแง่หลายมุมที่อาจรวบรวมมาชี้ธงคำตอบว่า  หัวใจของ  KM อยู่ที่ไหนได้  โดยอาจกล่าวเป็นลำดับขั้นหัวใจของ  KM  เหมือนกับลำดับขั้นของความต้องการ  ( Hierarchy  of  needs ) ของ Mcgregor  ได้ โดยเริ่มจากข้อสมมุติฐานแรกที่เป็นสากลที่ยอมรับทั่วไปว่าความรู้คือพลัง (DOPA KM Team)
  1.  Knowledge is Power :  ความรู้คือพลัง
   2.  Successful knowledge  transfer  involves  neither  computers  nor document  but  rather in  interactions  between  people. (Thomas H Davenport)  :  ความสำเร็จของการถ่ายทอดความรู้ไม่ใช่อยู่ที่คอมพิวเตอร์หรือเอกสาร  แต่อยู่ที่การมีปฏิสัมพันธ์   ระหว่างคนด้วยกัน
                3. The  great  end  of  knowledge  is  not knowledge  but  action  จุดหมายปลายทางสำคัญ  ของความรู้มิใช่ที่ตัวความรู้  แต่อยู่ที่การนำไปปฏิบัติ 
                4.  Now   the  definition   of a  manager  is   somebody   who   makes  knowledge  productive  : นิยามใหม่ของผู้จัดการ  คือ  ผู้ซึ่งทำให้ความรู้ผลิตดอกออกผ

                 จะเห็นว่า  จากข้อความที่กล่าวถึง ความรู้ดังกล่าว  พอทำให้มองเห็นหัวใจของ  KM เป็นลำดับชั้นมาเริ่มแต่ข้อความแรกที่ว่า ความรู้คือพลังหรือความรู้คืออำนาจ ซึ่งเป็นข้อความเป็นที่ยอมรับที่เป็นสากล ทั้งภาคธุรกิจ เอกชน และภาคราชการ จากการยอมรับดังกล่าวมาสู่การเน้นที่ปฏิสัมพันธ์ของคนว่ามีความสำคัญในการถ่ายทอดความรู้กว่าเครื่องมือหรือเอกสารใดและมักกล่าวถึงว่า แม้ความรู้จะถูกจัดระบบและง่ายต่อการเข้าถึงของบุคคล  ต่าง  ดีเพียงใดก็ตาม ถ้ามีความรู้ เกิดความรู้ขึ้นแล้ว หากไม่นำไปใช้ประโยชน์ ก็ไม่ใช่จุดหมายปลายทางของ  ความรู้และที่ชัดเจนก็คือ ประโยคสุดท้ายที่เน้นการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ให้เกิดมรรคผลมีคุณค่าประโยชน์เป็นรูปธรรมว่านั่นเป็นนิยามใหม่ของผู้ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการเลยทีเดียว  ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าหัวใจของ KM อยู่ที่การนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม 


ประโยชน์ของการบริหารจัดการความรู้

         การจัดการความรู้ทีดีจะช่วยให้องค์กร 
1. ปรับปรุงประสิทธิภาพ และเพิ่มผลผลิต ให้กับทุกภาคส่วนขององค์กร 
2. สร้างนวัตกรรมและการเรียนรู้ รวมถึงการส่งเสริมให้แสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยน ความรู้ได้อย่างเต็มที่ 
3. เพิ่มคุณภาพและลดรอบเวลาในการให้บริการ 
4. ลดค่าใช้จ่าย โดยกําจัดกระบวนการที่ไม่สร้างคุณค่าให้กับงาน 
5. ให้ความสําคัญกับความรู้ของพนักงานและให้ค่าตอบแทนและรางวัลที่เหมาะสม 





TPR = กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ


การจัดการความรู้ในโรงเรียน




  Makro

  •      ภาวะผู้นำ
  •      การบริหารการจัดการ
  •      การจัดองค์กร
  •      วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
  •      แผนงาน  สารสนเทศ
  •      โครงการ
  •       ฯลฯ
  • Micro
  •      แผนการสอน
  •      วิธีสอน / กิจกรรม
  •      กิจกรรมเสริมหลักสูตร
  •      เกม
  •      โครงงาน
  •      นิทรรศการ
  •      ฯลฯ






AIM= เป้าหมาย


ADAP= ประยุกต์ ปรับปรุงพัฒนา

Acheap ment












จุดประสงค์การเรียนรู้
  • 1. เรียนรู้เกี่ยวกับทฤษฎี

  • 2. ริเริ่มการเรียนรู้

    3. รับวัฒนธรรมการเรียนรู้และการตัดสินใจ

    4. เร่งรัดการจัดระบบและการบริการ

    5. ร่วมมือ


วิธีสอน / กิจกรรม
  •    Active  Learning 

  • กระบวนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำและได้ใช้กระบวน การคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป (ไปลงภาคสนาม)
  •   Concept  Mapping  Learning

  • การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด คือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอความคิดรวบยอด
  •    Brain  Based  Learning

  • การใช้ความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับสมองเป็นเครื่องมือในการออกแบบ กระบวนการเรียนรู้และกระบวนการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสร้างศักยภาพสูงสุดในการเรียนรู้ของมนุษย์
  •    Field  Based  Learning

  •                   การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ห้องสมุด หรือห้องคอมพิวเตอร์




จิตนาการสำคัญกว่าความรู้ – อัลเบิร์ต  ไอสไตล์


early  bird  get  warm – นกหากินแต่เช้าย่อมจับหนอนได้ก่อน


ไม่มีเงิน  ไม่มีแผน – No  money  No  plan







รูปแบบของการเรียนรู้
       ระดับที่ 1  เรียนรู้ข้อเท็จจริง  (Learning to  be  facts)
       ระดับที่ 2  การเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะ  (Learning to  be  skill)
       ระดับที่ 3  การเรียนรู้เพื่อปรับปรุง  (Learning to  be  adapt)
       ระดับที่ 4  การเรียนรู้เพื่อเรียนรู้  (Learning to  be  learn)




มาตรฐานความรู้วิชาชีพครู
  •    

  • มาตรฐานที่  1  ภาษาและเทคโนโลยี  

                       คือ  ครูจะต้องให้ภาษาที่มีความถูกต้อง  พูดชัดเจน  สามารถสื่อสารให้กับนั้นเรียนเข้าใจได้ง่าย  สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนประกอบในการเรียนการสอน

    มาตรฐานที่  2  การพัฒนาหลักสูตร

                       คือ  สถานศึกษาจะต้องมีเป้าหมายเป็นของตนเองที่จะเป็นจุดยืนในจัดแนวทางการจัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียน

    มาตรฐานที่  3  การจัดการเรียนเรียนรู้

                       คือ  ครุจะต้องจัดการเรียนรู้ให้ตรงกับเป้าหายของสถานศึกษาและเพื่อให้นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มตามศักยภาพ

    มาตรฐานที่  4  จิตวิทยาสำหรับครู 





                      คือ  ครูจะต้องเข้าใจว่านักเรียนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน  มีวิธิการเรียนเรียนรู้ที่ต่างกันเพราะบางคนอาจจะเข้าใจเมื่อครูอธิบาย  แต่บางคนอาจจะเข้าใจเมื่อได้ลงมือปฏิบัติจริง  เป็นต้น



    มาตรฐานที่  5  การวัดละประเมินผลการศึกษา 

                      คือ  ครูจะต้องใช้วิธีการวัดและประเมินผลด้วยวิธีและเครื่องมือที่หลากหลาย  และตลอดระยะเวลาที่มีการเรียนการสอนเพื่อที่ใจให้นักเรียนไม่ต้องตึงเครียดเวลาสอบปลายภาค  หรือกลางภาคเพียงอย่างเดียว

    มาตรฐานที่  6  การบริหารจัดการในห้องเรียน 

                      คือ  ครูจะต้องจัดสถานที่ให้เหมาะสม  ไม่ร้อน  หรือเย็นจนเกินไป  บางรายวิชาควรที่จะมีการเรียน รู้เป็นรายกลุ่ม  วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนต้องเพียงพอ  เป็นต้น

    มาตรฐานที่  7  การวิจัยทางการศึกษา  

                    คือ  ครูจะต้องมีการทำวิจัยในชั้นเรียนเพื่อที่จะเป็นการพัฒนาการเรียนการสอนหรือเป็นการหาทาง แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในชั้นเรียน 

    มาตรฐานที่  8  นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา 

                    คือ  ครูจะต้องมีการทำสื่อเพื่อใช่เป้ฯส่วนหนึ่งในกรเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าใจในบทเรียนมากยิ่งขึ้น 

    มาตรฐานที่  9  ความเป็นครู 

                     คือ  พื้นฐานของความเป็นครูนั้นจะต้องมีความรู้  และเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักเรียนได้ 


    จากมาตรฐานต่างๆเหล่านี้ครูแต่ละคนจะมีประสบการณ์  ความรู้  และการปฏิบัติตนที่แตกต่างกัน  ทำให้ครูแต่ละคนในโรงเรียนจึงมีความสามารถหรือความถนัดที่แตกต่างกันด้วย  บางคนอาจจะเด่นในบางมาตรฐานที่แตกต่างกัน  ซึ่งความสามารถเหล่านี้จะนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกันและกัน  ทั้งระหว่างครูกับครู  และครูกับผู้บริหาร นั้นเอง  เมื่อเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้  อาจจะเกิดจากการประชุมร่วมกันระหว่างบุคลากรภายในสถานศึกษา  ว่าการจัดการเรียนการสอนมีปัญหาในส่วนใด  อุปกรณ์หรือสื่อที่ใช้ในการเรียนการสอนเพียงพอหรือไม่  ทางผู้บริหารก็จะมีการนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น  เมื่อมีการแลกเปลี่ยน   ประสบการณ์  ความรู้และการปฏิบัติตนกันแล้ว  จึงเกิดเป็นความรู้ขององค์กรหรือสถานศึกษา


  • กุญแจสู่ความสำเร็จของ KM
      ผู้นำ
     วัฒนธรรมองค์กร
     ระบบการจัดการ                                     กลยุทธ์และการปฏิบัติการ
     ทรัพยากร
     ทีมงาน
     ประชามติ


ผู้นำ  เช่น   ในโรงเรียนผู้อำนวยการเป็นผู้กำหนดนโยบาย
ผู้นำ  หมายถึง  ผู้ริเริ่ม  เริ่มต้นในการกำหนด ทุกคนสามารถเป็นผู้นำได้ เช่น  นักเรียน คุณครู
วัฒนธรรมองค์กร  เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็ง คือ ส่วนที่มองเห็นและมองไม่เห็น ส่วนที่มองเห็น = กิจกรรม,การจัดการ
ส่วนที่มองไม่เห็น = ความเชื่อ,ความศรัทธา
ระบบการจัดการ  เช่น คอมพิวเตอร์  เอกสาร  ทรัพยากรในระบบเพื่อการจัดการ
ประชามติ  หมายถึง  ความเห็นพ้อง  การยอมรับร่วมกัน




ปัจจัยในการจัดการกลยุทธ์และปฏิบัติการ 4M
  • Money  (เงิน)
  • Men  (บุคลากร)
  • Manage  (การจัดการ)
  • Material  (วัสดุอุปกรณ์)
  • Motivation  (แรงบันดาลใจ)
  • Method  (แผนการ)
  • Multimedia
  • Message  (การสื่อสาร)
  • Map  (แผนที่)
  • Memory  (การจดจำ)
  • Move  (การเปลี่ยนแปลง,การเคลื่อนไหว)
  • Moral  (คุณธรรม,จริยธรรม)
  • Minute  (เวลา,การบริหารเวลา)

  • การสร้างอารมณ์ขันของครู

    กิจกรรม เช่น

    - เพลง

    - การเล่าเรื่อง

    - เกม

    - สำนวน, สุภาษิต

    - ภาพยนตร์, ดนตรี

    ฯลฯ

    สิ่งเหล่านี้สามารถสอดแทรกเข้าไปในเนื้อหาของบทเรียนได้


ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น